จากธรรมกาย สู่เข็มทิศชีวิต การใช้เงินกับศาสนาไม่ใช่ของคู่กัน จริงหรือ?
การนับถือศาสนา เป็นเรื่องที่ดี และการใช้เงินเพื่อทำบุญ เพื่อหวังกุศลนั้นไม่ใช่ของคู่กันแน่นอน
กรณีของเข็มทิศชีวิต แน่นอนว่าไม่ได้หลอกลวงใคร แต่เป็นการใช้ภาพของดารามาสร้างภาพ ทำให้ครอสของครูอ้อย ดูมีเซลเลป น่าเชื่อถือ และดึงดูดผู้คนเข้ามาเรียนกับครูอ้อยมากขึ้น เรียกได้ว่าไม่ผิด แต่ก็เป็นการสร้างภาพแห่งความสุขที่ มีรายได้ให้ตัวเองเพียงอย่างเดียว นั่นคือการหลงติดใน ลาภ ยศ สรรค์เสริญ เงินทอง

- กรณี วัดพระธรรมกาย สอนให้คนได้ทำบุญเป็นเรื่องที่ดี แต่การทำบุญ และปฏิบัติที่ดี ถ้าคนไทยคนพุทธ ต้องมีสติ ถ้ามีสติเราจะไม่โดนครอบงำด้วยการโฆษณาชวนเชื่อที่ว่าไปนรก ไปสววรค์ด้วยการออกเงินเท่านั้นเท่านี้ และนั่งสมาธิแล้วจะได้อย่างนั้นนี้ ถ้าเราใช้หลักความเชื่อตามพุทธศาสนา หรือหลักกาลามศูตร 10ประการ เราจะมีสติ เพราะศาสนาพุทธ สอนให้คนเจริญด้วยสติ และปัญญา มากกว่าทำบุญหวังกุศล หวังวัตถุ หวังสววรค์สมบัติ เท่านั้น
- กรณี เข็มทิศชีวิต ของครูอ้อย เป็นการปฏิบัติธรรมที่มีความสุข ผมก็เชื่อว่าเป็นการแก้ปมปัญหาทางจิต แก้ปมปัญหาทางความคิด ปรับสติให้คนมีความสุข ปรับชีวิตให้คนรู้ถึงความดีงาม ความสวยงามของชีวิต แต่เมื่อความดีงาม ความสวยงามมันอยู่ในจิต แล้ว ทำไมยังมาส่งเสริมให้คนหลงใหลในกิเลส ยึดมั่นในเงินทอง นึกถึงเงิน พูดถึงเงิน ดึงดูดแต่เรื่องเงิน สร้างความร่ำรวยให้กับคน จนเป็นเข็มทิศที่พากันหลงทาง เน้นหนักไปทางกฏแห่งแรงดึงดูด จนลืมไปว่า ถ้าแรงดึงดูดมากเกินไป แรงสะท้อนกลับมันก็มากตามไปด้วย สิ่งใดที่มาเร็ว ย่อมไปเร็วเช่นกัน ถ้าท่านเหนื่อย ท่านจึงหายใจเร็ว ถ้าท่านสะบาย ท่านจึงหายใจผ่อนคลาย
- เรามาจากใหน
- เราเกิดมาทำไม
- เราเกิดมาแล้วเรามาทำอะไร
- เราตายแล้วเราจะไปใหน
กาลามสูตร
- มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
- มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
- มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
- มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
- มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน
- มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน
- มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น
- มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
- มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ
- มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา